• Visit Us On Facebook

Porous Asphalt

Porous Asphalt_วิธีทำ_create

Porous Asphalt

เป็นผิวทางชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติเฉพาะคือ เป็นวัสดุที่มีความพรุนสูงจึงทำให้การระบายน้ำเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว น้ำไม่ขังขณะและหลังเกิดฝนตกโดยที่น้ำสามารถซึมผ่านลงไปใต้พื้นถนนได้อย่างรวดเร็ว เป็นผลให้เป็นการเพิ่มสมรรถนะในการขับขี่ยวดยาน คือรถไม่ลื่นไถลขณะวิ่งด้วยความเร็วหรือเบรกกะทันหัน อีกทั้งยังเป็นการลดละอองน้ำที่กระเซ็นรบกวนยานพาหนะคันหลังที่วิ่งตามมาเป็นการเพิ่มความสามารถในการมองเห็นของผู้ขับขี่ส่งผลให้ลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้ทาง จุดเด่นของพอรัสแอสฟัลท์อีกประการ คือ การที่เนื้อวัสดุมีลักษณะพรุนนั้น จะช่วยเพิ่มความสามารถในการดูดซับเสียงที่เกิดจากการเสียดสีระหว่างยางรถยนต์และผิวทาง ซึ่งสามารถลดมลภาวะทางเสียงที่เกิดขึ้นต่อผู้อยู่อาศัยสองข้างทางอีกด้วย               

ชื่อทางเทคนิคของถนนชนิดนี้คือ Open-Graded Friction Course(OGFC) การที่มีปริมาณรูพรุนค่อนข้างมากเกิดจากการใช้วัสดุมวลรวมขนาดใหญ่ในปริมาณมากโดยปกติจะใช้วัสดุที่ผ่านตะแกรงเบอร์ 8 ไม่เกิน 20% ทั้งนี้การผลิตพอรัสแอสฟัลท์ มีขั้นตอนไม่แตกต่างจากการผลิตแอสฟัลท์ทั่วไป ความแตกต่างที่สำคัญอย่างเดียวคือ การคัดขนาดมวลรวม(Gradation) อย่างไรก็ตามการใช้พอรัสแอสฟัลท์มีปัญหาอยู่หลายประการ ได้แก่ การลอก(Stripping) ภายใต้ผิวทางพอรัสแอสฟัลท์จากสาเหตุหลายกรณี เช่น ปริมาณน้ำจำนวนมากขังอยู่ส่วนล่างของผิวทางพอรัสแอสฟัลท์เป็นเวลานานปัญหาอีกอย่างคือ การอุดตันของรูพรุนของผิวทางพอรัสแอสฟัลท์ทำให้การระบายน้ำไม่ดีเท่าที่ควรจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาและขจัดสิ่งอุดตันในรูพรุน

มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นชั้นผิวทาง โดยการปูหรือเกลี่ยแต่งและบดทับบนชั้นรองผิวทาง(Binder Course) หรือชั้นผิวทางเดิมซึ่งน้ำซึมผ่านไม่ได้ ระดับความลาดและได้ทำการ Tack Coat ก่อนเสมอ

1.วัสดุ
วัสดุที่จะนำมาใช้ทำพอรัสแอสฟัลท์คอนกรีตประกอบไปด้วย มวลรวมและโพลิเมอร์โมดิฟายด์แอสฟัลท์ซีเมนต์
1.มวลรวม – มวลรวมประกอบด้วยมวลหยาบ(Coarse Aggregate) และมวลละเอียด(Fine Aggregate) กรณีที่มวลละเอียดมีส่วนละเอียดไม่พอ หรือต้องการปรับปรุงคุณภาพและความแข็งแรงของพอรัสแอสฟัลท์คอนกรีต อาจเพิ่มวัสดุผสมแทรก (Minerial Filler) ด้วยได้ ขนาดคละ(Gradation) ของมวลรวมให้เป็นไปดังนี้
ตารางที่ 1 ขนาดคละของมวลรวมและปริมาณโพลิเมอร์โมดิฟายด์แอสฟัลท์ซีเมนต์ที่ใช้
Screen Shot 2558-07-31 at 12.09.34 AM
กรมทางหลวงอาจใช้ขนาดคละของมวลรวม และปริมาณโพลิเมอร์โมดิฟายด์แอสฟัลท์ซีเมนต์แตกต่างจากตารางที่ 1 ได้ แต่คุณภาพของพอรัสแอสฟัลท์คอนกรีตต้องเป็นไปตามข้อกำหนดตามตารางที่ 2
2.แอสฟัลท์
2.1. แอสฟัลท์ที่ใช้สำหรับพอรัสแอสฟัลท์คอนกรีต
ในกรณีที่ไม่ได้ระบุชนิดของแอสฟัลท์ไว้เป็นอย่างอื่น ให้ใช้โพลิเมอร์โมดิฟายด์แอสฟัลท์ซีเมนต์ตามข้อกำหนดที่ ทล.-ก.407/2536
ปริมาณการใช้โพลิเมอร์โมดิฟายด์แอสฟัลท์ซีเมนต์สำหรับพอรัสแอสฟัลท์คอนกรีตโดยประมาณ ให้เป็นไปตามตารางที่ 1
2.2. แอสฟัลท์ที่ใช้สำหรับ Tack Coat
ในกรณีที่ไม่ได้ระบุชนิดของแอสฟัลท์ไว้เป็นอย่างอื่น ให้ใช้โมดิฟายด์แอสฟัลท์อิมัลชั่น CRS – 2 ตามข้อกำหนดที่ ทล.-ก.406/2536
ปริมาณการใช้โมดิฟายด์แอสฟัลท์อิมัลชัน CRS-2 สำหรับ Tack Coat ให้ใช้ประมาณ 0.4 – 0.8 ลิตรต่อตารางเมตร
การใช้แอสฟัลท์อื่นๆหรือแอสฟัลท์ที่ปรับปรุงคุณสมบัติด้วยสารใดๆนอกเหนือจากนี้ ต้องมีคุณภาพเทียบเท่าหรือดีกว่า ทั้งนี้ต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพและพิจารณาความเหมาะสม รวมทั้งต้องได้รับอนุมัติให้ใช้ได้จากกรมทางหลวงเป็นกรณีไป
3. การใช้งาน
พอรัสแอสฟัลท์คอนกรีตตามมาตรฐานนี้ใช้สำหรับเป็นชั้นทาง มีลักษณะผิวหน้าหยาบ มีรูพรุนสูง น้ำซึมผ่านได้ดี เพิ่มค่าความฝืดของผิวทาง ไม่เกิดแผ่นฟิล์มของน้ำ(Hydroplaning) และลดระดับเสียงขณะรถวิ่งผ่าน ทำการก่อสร้างโดยการปูและบดทับบนชั้นรองพื้นทาง(Binder Course) หรือชั้นผิวทางเดิม ซึ่งน้ำซึมผ่านไม่ได้ที่ได้ระดับความลาดและได้ทำการ Tack Coat ก่อนเสมอ
3. การออกแบบส่วนผสมพอรัสแอสฟัลท์คอนกรีต
ข้อกำหนดในการออกแบบพอรัสแอสฟัลท์คอนกรีตให้เป็นไปตามตารางที่ 3 ดังนี้
Screen Shot 2558-07-31 at 12.11.47 AM
คุณสมบัติของผิวทางแบบ Porous Asphalt ที่สำคัญ
1.การซึมผ่านได้ของน้ำ (Permeability)
การซึมผ่านได้ของน้ำเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างมากสำหรับผิวทางแบบพอรัสแอสฟัลท์ เนื่องจากวัสดุมีความพรุนสูงจึงทำให้การระบายน้ำเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว น้ำไม่ขังขณะและหลังฝนตก โดยที่น้ำสามารถซึมผ่านลงไปใต้พื้นถนนได้อย่างรวดเร็ว

2.ความต้านทานการลื่นไถล (Skid Resistance)
เมื่อน้ำซึมผ่านได้ดี เป็นผลให้เป็นการเพิ่มสมรรถนะในการขับขี่ยวดยาน คือ รถไม่ลื่นไถลขณะวิ่งด้วยความเร็วหรือเบรกกระทันหัน อีกทั้งยังเป็นการลดละอองน้ำที่กระเซ็นรบกวนยานพาหนะคันหลังที่วิ่งตามมา เป็นการเพิ่มความสามารถในการมองเห็นของผู้ขับขี่ ส่งผลให้ลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้ทาง

3.การลดสภาวะทางเสียง (Noise Reduction)
การที่เนื้อวัสดุมีลักษณะพรุนนั้น จะช่วยเพิ่มความสามารถในการดูดซับเสียงที่เกิดจากการเสียดสีระหว่างยางรถยนต์และผิวทาง ซึ่งสามารถลดมลภาวะทางเสียงที่เกิดขึ้นต่อผู้อยู่อาศัยสองข้างทางอีกด้วย