• Visit Us On Facebook

Joint Sealer

Print

ผลิตภัณฑ์ยางมะตอยที่ผสม ระหว่าง แอสฟัลต์ซีเมนต์ (ASPHALT CEMENT) กับ โพลีเมอร์ (POLYMER)

 Joint Sealer

ผลิตภัณฑ์ยางมะตอยที่ผสม ระหว่าง แอสฟัลต์ซีเมนต์ (ASPHALT CEMENT) กับ โพลีเมอร์ (POLYMER) ภายใต้กระบวนการผสมที่ดำเนินการในโรงงานผลิต โดยใช้เครื่องผสมที่ออกแบบโดยเฉพาะ เพื่อเพิ่มความทนทานในการใช้งานที่อุณหภูมิสูงและเพิ่มการยึดเกาะสำหรับวัสดุคอนกรีต เหมาะสำหรับยาแนวเพื่อป้องกันการแทรกซึมของน้ำหรือความชื้นและสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ รวมทั้งยังป้องกันการแตกร้าวของผิวคอนกรีตที่เกิดจากการหดและขยายตัว

มาตรฐาน

– มอก. 479/2541  วัสดุยารอยต่อคอนกรีตแบบยืดหยุ่นชนิดเทร้อน

– ทล.ม. 328/2544  มาตรฐานการซ่อมรอยแยกตัวระหว่างไหล่ทางกับผิวทาง                                      คอนกรีตด้วยวัสดุยารอยต่อคอนกรีตแบบยืดหยุ่นชนิดเทร้อน

 

การนำไปใช้งาน

  • งานหยอดรอยต่อคอนกรีตหรืองานอุดซ่อมรอยแตกในถนนคอนกรีต โดยการให้ความร้อนแก่ Joint Sealer ตามที่กำหนด (140-180 OC) แล้วเทวัสดุลงในรอยต่อหรือรอยแตกคอนกรีตแล้วปล่อยให้เย็น

Specification

 

 คุณลักษณะที่ต้องการ  หน่วย  มาตรฐานที่กำหนด

1. เพนิเทรชัน ที่ 25 °C ,น้ำหนักกด150 กรัม ,

เวลา 5 วินาทีไม่มากกว่า

0.1 mm.

90

2. อุณหภูมิที่ปลอดภัย

°C

 3. จุดไหลเท   ต้องต่ำกว่าอุณหภูมิปลอดภัยอย่างน้อย

°C

 11

4. การไหล (Flow) ที่ 60 °C ไม่เกิน

mm.

5

5. การยึดเหนี่ยว (Bonding)ต้องไม่เกิดรอยร้าว(Cracking) หรือการแยกตัว (Separation) หรือร่อง (Opening) อย่างใดอย่างหนึ่ง ลึกเกิน ณ จุดใดจุดหนึ่งในชิ้นทดสอบ หรือระหว่างชิ้นทดสอบกับ มอร์ตาร์บล็อกในระหว่างการทดสอบ

mm.

6.4

คุณสมบัติ

  1. ยืดหยุ่นตัวได้ดีตามการยืด และ ขยายตัวของคอนกรีต คือผลิตภัณฑ์มีความยืดหยุ่นสูงที่อุณหภูมิต่ำมาก หรือสูงมาก (Temperature Susceptibility) คือการเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ ค่า PI สูง ทำให้ไม่เกิดการอ่อนตัวมากเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
  2. ยึดเกาะผนังร่องคอนกรีตได้ดี คือ Cohesion แรงยึดเหนี่ยวใน Joint Sealer มีสูงมาก ส่งผลให้สามารถยึดเกาะกับคอนกรีตได้ดี 
  3. ไม่ไหลเยิ้มขณะแดดร้อน(Bleeding resistance) คือ Softening Point จุดอ่อนตัวของยาง Joint Sealer สูงประมาณ 88°c ซึ่งสูงกว่า AC 60-70 ซึ่ง อยู่ที่ 45-48 °c จึงทําให้โอกาสเกิดปัญหายางเยิ้มที่ผิวทางจราจรได้ยากกว่าปกติ

 

ข้อเสนอแนะและวิธีการจัดเก็บ

  • อาจลุกติดไฟได้ง่าย ถ้าให้ความร้อนสูงเกิน
  • ในขณะหลอมเหลววัสดุยารอยต่อ อย่าให้น้ำเข้าไปสัมผัสได้
  • ควรสวมหมวกนิรภัยพร้อมหน้ากากกันกระเด็น สวมเสื้อแขนยาวหรือปลอกแขนเพื่อป้องกันความร้อนให้รัดกุมและถุงมือหนัง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานหากมีเหตุฉุกเฉิน
  • กรณีลุกติดไฟ ห้ามใช้น้ำดับโดยเด็ดขาด ให้ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ผง โฟม ทราบ ดับแทน
  • ขณะให้ความร้อนเพื่อหลอมเหลว ต้องทำการกวนตลอดเวลาขณะต้ม
  • ระวังอย่าให้วัสดุยารอยต่อที่หลอมเหลวมีอุณหภูมิสูงเกิน 180 องศาเซลเซียส ยางจะไหม้