• Visit Us On Facebook

NATURAL RUBBER MODIFIED ASPHALT (NRMA)

W1-02

แอสฟัลต์ซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางพาราธรรมชาติ
Natural Rubber Modified Asphalt (NRMA)

การใช้ยางพาราธรรมชาติที่เป็นทรัพยากรสำคัญภายในประเทศไทยเป็นสารผสมเพื่อใช้ในงานทางนั้น สามารถช่วยปรับปรุงให้พื้นผิวถนนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ NRMA (ผิวทางแอสฟัลต์ซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางพาราธรรมชาติ) มีความยืดหยุ่น มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น ทำให้สามารถรองรับน้ำหนักและการจราจรได้มากกว่าผิวทางแอสฟัลต์ (Asphalt Cement 60/70) ธรรมดา นอกจากนี้ยังเพิ่มคุณสมบัติในด้านการต้านทานการลื่นไถล (Skid Resistance) และ เพิ่มอายุการใช้งานของถนนอีกด้วย

มาตรฐาน

– มอก.2731-2559  แอสฟัลต์ซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ adobe-pdf1-01– ทล.ม.416/2556  มาตรฐานแอสฟัลต์คอนกรีตปรับปรุงคุณภาพด้วยยางพาราธรรมชาติ
(Natural Rubber Modified Asphalt Concrete)

Modified Asphalt Cement NRMA

PDF/MSDS

MIT

NRMA PDF1 PDF1

คุณสมบัติ

1. เพนิเทรชันและจุดอ่อนตัวยางแอสฟัลต์ที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางพารา จะมี

  คุณสมบัติที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิลดน้อยลง

2ค่า Dynamic Shear Modulus ที่มีค่าสูงขึ้น จะมีคุณสมบัติในด้าน Rheology ดีขึ้น

3. ค่าจุดอ่อนตัวและค่าความหนืด Brookfield ที่สูงขึ้นยางแอสฟัลต์ที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางพารา    จะมีคุณสมบัติด้าน การบิดงอและการยืดหยุ่น (Viscoelastic) ดีขึ้น

4. ค่า Elastic Recovery ที่มีค่าสูงขึ้น จะมีคุณสมบัติเพิ่มความสามารถในการดูดซับได้โดยไม่แตก       หรือเสียรูป เป็นการเพิ่ม Fatigue Resistance

การนำไปใช้งาน

แอสฟัลต์คอนกรีตสำหรับงานก่อสร้างผิวทาง  (Wearing Course)
คือให้ความร้อนยางมะตอยและหินจนได้อุณหภูมิที่ต้องการแล้วจึงผสมคลุกเคล้ากันในเครื่องผสม (Mixing Plant) ตามอัตราส่วนที่ถูกต้องตามที่ออกแบบไว้ แล้วนำไปปูผิวทางตามความหนาที่ต้องการ

งานปรับระดับ (Leveling) คือการนำแอสฟัลต์คอนกรีต ไปปูบนชั้นผิวทางเดิมเพื่อปรับระดับผิวทางตามระดับที่ต้องการ

งานเสริมผิว (Overlay) คือการนำแอสฟัลต์คอนกรีต ไปปูบนชั้นผิวทางเดิมเพื่อเสริมผิวทางเพื่อยืดอายุการใช้งานของผิวทาง

MN1-03
โพลีเมอร์มอดิฟายด์แอสฟัลต์ซีเมนต์
Polymer Modified Asphalt Cement PMA

คือ ยางแอสฟัลต์ซีเมนต์เกรดพิเศษ ที่ได้จากการผสม ระหว่างโพลีเมอร์ (POLYMER) กับ แอสฟัลต์ซีเมนต์(ASPHALT CEMENT) รวมทั้ง Additive ภายใต้กระบวนการผสมที่ดำเนินการในโรงงานผลิต โดยใช้เครื่องผสมที่ออกแบบ โดยเฉพาะ

มาตรฐาน

– มอก.2156/2547  โพลีเมอร์มอดิฟายด์แอสฟัลต์ซีเมนต์สำหรับงานทาง—-
– ทล.ม.409/2549  มาตรฐานมอดิฟายด์แอสฟัลต์คอนกรีต (Modified Asphalt Concrete)

Polymer Modified Asphalt Cement

PDF/MSDS

MIT

PMA PDF1 PDF1

 

คุณสมบัติ

1. มีความต้านทานต่อการล้า (Fatigue resistance)

2มีความต้านทานสูงต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างถาวร (Pavement Deformation)

3. มีความยืดหยุ่นสูงที่อุณหภูมิต่ำมาก หรือสูงมาก (Temperature Susceptibility)

4. มีความต้านทานต่อการบิดตัว ระหว่างวัสดุมวลรวม

5. ไม่มีการไหลเยิ้ม (Bleeding resistance)

การนำไปใช้งาน

แอสฟัลต์คอนกรีตสำหรับงานก่อสร้างผิวทาง  (Binder Course, Wearing Course)

คือให้ความร้อนยางมะตอยและหินจนได้อุณหภูมิที่ต้องการแล้วจึงผสมคลุกเคล้ากันในเครื่องผสมตามอัตราส่วนที่ถูกต้องตามที่ออกแบบไว้ แล้วนำไปปูผิวทางตามความหนาที่ต้องการ

งานปรับระดับ (leveling) คือการนำแอสฟัลต์คอนกรีตไปปูบนชั้นผิวทางเดิมเพื่อปรับระดับผิวทางตามระดับที่ต้องการ

งานเสริมผิว (overlay) คือการนำแอสฟัลต์คอนกรีต ไปปูบนชั้นผิวทางเดิมเพื่อเสริมผิวทางเพื่อยืดอายุการใช้งานของผิวทาง